เมนู

สัญญาเป็นอย่างอื่นมีอยู่. ดูก่อนจุนทะ ด้วยบัญญัตินี้แล เราไม่พิจารณา
เห็นผู้สม่ำเสมอด้วยตนเลย ผู้ยิ่งกว่าจักมีแต่ไหน เราผู้เดียวเป็นผู้ยิ่งใหญ่
ในบัญญัติที่เป็นอธิบัญญัตินี้โดยแท้.
ดูก่อนจุนทะ ทิฏฐินิสัย อันสหรคตด้วยส่วนเบื้องปลายนี้แล ที่
เราได้พยากรณ์กะพวกเธอ โดยประการที่เราพึงพยากรณ์ และโดยประการ
ที่เราไม่พึงพยากรณ์ เพราะฉะนั้น ไฉนเราจักพยากรณ์ทิฏฐินิสัยเหล่านั้น
กะพวกเธอในข้อนั้นเล่า.

ว่าด้วยสติปัฏฐาน 4



[128] ดูก่อนจุนทะ สติปัฏฐาน 4 ประการ อันเราแสดงแล้ว
บัญญัติแล้วอย่างนี้ เพื่อละ เพื่อก้าวล่วง ทิฏฐินิสัย อันประกอบด้วยส่วน
เบื้องต้นเหล่านี้ด้วย ทิฏฐินิสัยอันสหรคตด้วยส่วนเบื้องปลายเหล่านี้ด้วย
สติปัฏฐาน 4 เป็นไฉน. ดูก่อนจุนทะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณา
เห็นกายในกายเนือง ๆ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้ง
หลายเนือง ๆ. ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตเนือง ๆ. ย่อมพิจารณาเห็นธรรม
ในธรรมทั้งหลายเนือง ๆ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌา
และโทมนัสในโลกเสียได้. ดูก่อนจุนทะ สติปัฏฐาน 4 ประการนี้ อัน
เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วอย่างนี้ เพื่อละเพื่อก้าวล่วงซึ่งทิฏฐินิสัยอันสหรคต
ด้วยส่วนเบื้องต้นเหล่านี้ด้วย ทิฏฐินิสัยอันสหรคตด้วยส่วนเบื้องปลายเหล่า
นี้ด้วยดังนี้.
[129] ในเวลานั้น ท่านอุปทานะ ยืนถวายงานพัดอยู่เบื้อง
พระปฤษฎางค์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า. ท่านอุปทานะได้กราบทูลพระผู้มี

พระภาคเจ้าว่า น่าอัศจรรย์พระเจ้าข้า ไม่เคยมีเลยพระเจ้าข้า ธรรม
ปริยายนี้ น่าเสื่อมใสนัก พระเจ้าข้า ธรรมปริยายนี้น่าเลื่อมใสดีนักพระ
เจ้าข้า ธรรมปริยายชื่ออะไร พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดู
ก่อนอุปทานะ เธอจงจำธรรมปริยายนี้ไว้เถิดว่า "ปาสาทิก" ดังนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านอุปทานะ
ยินดีชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้แล.

จบ ปาสาทิกสูตรที่ 6

อรรถกถาปาสาทิกสูตร



ปาสาทิกสูตรมีบทเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
จะอธิบายถึงบทที่ยากในปาสาทิกสูตรนั้น. บทว่า พวกศากยะมี
นามว่า เวธัญญา นั้นหมายความถึงพวกศากยะพวกหนึ่ง ชื่อเวธัญญา
ศึกษาการทำธนู. บทว่า ณ ปราสาท ในสวนอัมพวันของพวกศากยะ
เหล่านั้น
อธิบายว่ามีปราสาทยาวซึ่งสร้างไว้เพื่อเรียนศิลป์ ในสวนอัมพวัน
ของพวกศากยะเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ สวนอัมพวัน
นั้น.
บทว่า อธุนา กาลกโตได้แก่นิคัณฐนาฏบุตร ถึงแก่กรรมทันที
ทันใด. บทว่า เกิดแยกกันเป็นสองพวก คือ แยกกันเป็นสองฝ่าย. ใน
บรรดาความบาดหมางเป็นต้น การทะเลาะกันในตอนแรก เป็นความบาด
หมาง ความบาดหมางนั้นได้เจริญขึ้นด้วยสามารถการถือท่อนไม้เป็นต้น
สละด้วยสามารถการล่วงบัญญัติ เป็นการทะเลาะ ถ้อยคำทำลายกันโดย
นับเป็นต้นว่า ท่านไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ เป็นวิวาท. บทว่า วิตุทนฺตา คือ
ทิ่มเทง. บทว่า ถ้อยคำของข้าพเจ้ามีประโยชน์ คือ คำของข้าพเจ้า
ประกอบด้วยอรรถ. บทว่า สิ่งที่ท่านเคยช่ำชองได้ผันแปรไปแล้ว
อธิบายว่า อันใดที่ท่านช่ำชองมาแล้วคือ คล่องแคล่ว ด้วยสามารถเสวนะ
มาช้านาน อันนั้น ได้ผันแปรไปแล้ว เพราะอาศัยวาทะของข้าพเจ้า. บท
ว่า ข้าพเจ้าจับผิดวาทะของท่านได้แล้ว คือ ข้าพเจ้าได้ยกความผิดไว้
เบื้องบนของท่าน. บทว่า ท่านจงเที่ยวไปเพื่อปลดเปลื้องวาทะอธิบาย
ว่าท่านจงถือห่อข้าวเข้าไปยังชุมชนนั้น ๆ แล้วเที่ยวแสวงหาให้ยิ่ง ๆ ขึ้นเพื่อ